วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กระดาษสาบ้านท่าล้อ 

         
ารพัฒนาประเทศบนพื้นฐานศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในปัจจุบันนี้ได้มีการตื่นตัวกันอย่างกว้างขวาง ที่จังหวัดลำปางมีงานหัตถกรรมมากมายที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน และที่บ้านท่าล้อชาวบ้านได้ผลิตกระดาษสากันเกือบทุกครอบครัวซึ่งได้เรียนรู้เองและสืบต่อกันมาจากผู้ใหญ่ ชาวบ้านท่าล้อได้ทำกระดาษสาเลี้ยงชีพกันมาตั้งแต่อดีตหลายสิบปีมาแล้วจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ยังยึดอาชีพนี้มาโดยตลอดใช้วิธีทำกระดาษสาแบบดั้งเดิมมาจนปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือให้ทันตามสมัยโลกปัจจุบัน 


          กระดาษสาเป็นกระดาษชนิดหนึ่งที่ทำมาจากต้นปอสา โดยใช้เยื่อจากเปลือกส่วนของลำต้นของปอสา การทำกระดาษมีกรรมวิธีการผลิตคล้ายกับกระดาษชนิดอื่นผิดกันแต่ว่ากระดาษสาใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ 


วิธีตัดต้นปอสา 
          การ ตัดต้นสาสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตรแบ่งออกเป็นท่อนๆท่อนละประมาณ 150 เซนติเมตร ต้องไม่มีใบแขนงกิ่งหรือรากติดมา 

การลอกเปลือกปอสา 
          การลอกเปลือกสามีอยู่ 2 วิธี 
      1. การลอกเปลือกสาดิบ

       2. การลอกเปลือกสาสุก(การเผาหรือการนึ่ง) 

วัสดุอุปกรณ์ในการทำกระดาษสา 
      1. เปลือกปอสาแห้ง 


          2. น้ำ 
          3. ผงฟอกสีหรือคลอรีนหรือไฮโดรเจน 
          4. โซดาไฟ 
          5.สีย้อมเยื่อสาหรือสีย้อมบาติกหรือสีย้อมกระดาษ 
          6.เกลือแกง 

อุปกรณ์การทำเยื่อสาและกระดาษสา 
          1. ถังและเตาต้มเยื่อสา 
          2. ถังล้างเยื่อสา 
          3. ถังฟอกสีเยื่อสา 
          4. เครื่องโม่เยื่อสา 

          5. ถังน้ำตื้น 
          6. ตะแกรง 

ขั้นตอนการทำกระดาษสาแบบพื้นบ้าน 
          1. นำกิ่งสาลนไฟ

          2. ขูดผิวด้านนอกออก

          3. ลอกเปลือก

          4. นำเปลือกสาแช่น้ำ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง

          5. ต้มด้วยขี้เถ้าหรือโซดาไฟ ประมาณ 4-6 ชั่วโมง

          6. ล้างน้ำ

          7. ฟอกขาว (แช่คลอรีน) ประมาณ 6-8 ชั่วโมง

          8. ล้างน้ำ

          9. ทุบเยื่อด้วยท่อนไม้หรือฆ้อนไม้

          10. ทำแผ่นหรือตักช้อนหรือวิธีแตะ

          11. ตากแดดหรือผิงไฟ

          12. ลอกแผ่นจากตะแกรง 

ขั้นตอนการทำกระดาษสาแบบปัจจุบัน 
          1. แช่เปลือกสา 24 ชั่วโมง

          2. การต้มมี 2 วิธี 
                    2.1. ต้มโดยใช้ขี้เถ้า ประมาณ 3-6 ชั่วโมง 
                    2.2. ต้มโดยใช้โซดาไฟ ประมาณ 50 นาที

          3. การฟอกสีใช้แคลเซียมไฮเบอร์คลอไรด์ 1 ขีด 
ต่อเยื่อสา 5 กิโลกรัม นาน 30 นาที แล้วล้าง 
น้ำให้สะอาด


          4. นำเยื่อสาไปโม่ด้วยเครื่อง

          5. การแตะเยื่อสามีตะแกรงมุ้งลวดขนาดเท่ากระดาษมีอยู่ 2 ขนาด 
คือ ขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 80 ซม. และขนาดกว้าง 
46 ซม. ยาว 56 ซม. นำตะแกรงวางบนถังน้ำขนาดกว้าง 80 ซม. 
ยาว 1 ม. สูง 40 ซม. แล้วนำเยื่อสาประมาณ 2 ขีด หรือแล้วแต่ความ 
ต้องการใช้มือเกลี่ยแล้วแตะให้กระจายทั่วตะแกรงแล้วยกตะแกรงผึ่งแดด 
      6. ผึ่งแดด 1 วันแล้วลอกกระดาษออกจากตะแกรง 


การทำกระดาษสาแบบลวดลาย 
               การทำกระดาษแบบลวดลายมี 3 วิธี

           1. กระดาษสาขาวผสมเยื่อสีจากเยื่อที่ผ่านการตีเยื่อ

          2. กระดาษสาขาวผสมเยื่อสีจากเยื่อที่ไม่ผ่านการตีเยื่อ

           3. กระดาษสาขาวผสมกับเศษวัสดุธรรมชาติและใยสังเคราะห์

          ปัจจุบันนี้ชาวบ้านท่าล้อได้ผลิตกระดาษสาเองโดยส่วนใหญ่จะซื้อเปลือกสาจากจังหวัดสุโขทัยแล้วผลิตเป็นกระดาษสาและแปรรูปเป็นของใช้ของที่ระลึกจำหน่ายทั้งปลีกและส่งในประเทศและนอกประเทศ ดังเช่นครอบครัวของ คุณสมพัด หน่อแก้วบุญ และมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งรับจ้างแตะเยื่อสาอย่างเดียวโดยได้ค่าจ้างแผ่นละ 1 บาท 


รูปคุณสมพัด







          กระดาษสาภูมิปัญญาชาวบ้านของชาวบ้านท่าล้อเป็นงานหนึ่งที่สมควรอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงไว้เป็นมรดกของไทย ซึ่งเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านได้คิดเอง ทำได้เอง เป็นสติปัญญาความรู้ที่ได้สะสมกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และมีลักษณะเชื่อมโยงกันได้ทุกสาขาวิทยาการด้วยการใช้เหตุผลทุกขั้นตอนนำมาใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน 
     

  ที่มาhttp://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=1&group_id=3&article_id=29&by_pass=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น